สุ ๓ หมายถึง คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ดี งามง่าย สําหรับเติมข้างหน้าคํา เช่น สุคนธ์. (ป., ส.).
ก. พ้นจากห่าม เช่น ผลไม้สุก, เปลี่ยนสภาพจากดิบด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ อย่างต้ม ผัด ย่าง เป็นต้น เช่น ต้มไก่สุกแล้ว ย่างเนื้อให้สุก, ถึงระยะที่ได้ที่หรือแก่จัดแล้ว เช่นข้าวในนาสุกเกี่ยวได้แล้ว ฝีสุกจนแตก ต้อสุกผ่าได้แล้ว,โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ร้อนจนเนื้อตัวจะสุกแล้ว ถูกเขาต้มจนสุก, เรียกชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้วว่า คนสุก; ปลั่งเป็นมันแวววาวเช่น ทองเนื้อสุกดี.
(สํา) ว. ที่ทําสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา(มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน) เช่นใครเขาจะเอาเยี่ยงอย่างอีซนซุก อีสุกก่อนห่าม มันมาอยู่สักกี่วันกี่เดือน นี่มันจะมาตั้งเตือนต่อก่อความให้ขุ่นไปทั้งบ้าน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ก. แก่จัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น มะม่วงสุกงอมคาต้น,โดยปริยายหมายความว่า เต็มที่ เช่น ความรักของเขาสุกงอม แก่แล้วก็เหมือนผลไม้ที่สุกงอม.
ว. เรียกวันเตรียมงาน ซึ่งเป็นวันก่อนถึงกำหนดวันงานพิธี๑ วันว่า วันสุกดิบ.
ว. ยังไม่สุกทั่วกัน เช่น หุงข้าวสุก ๆ ดิบ ๆ.
ว. ที่ถูกแดดเผาให้สุกก่อนเวลาที่ควรจะสุก (ใช้แก่ผลไม้)เช่น มะม่วงสุกแดด.
ว. สุกใสเป็นมันแวววาว เช่น ทองสุกปลั่ง ขัดถาดทองเหลืองเสียสุกปลั่ง.